- Description
- Backers
ร้านขายข้าว ญี่ปุ่น ราคา-ปลีก ราคา-ส่ง
ที่มาโครงการ
ประเทศไทยมีปริมาณ การใช้ข้าว ภายในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน/ปี โดยส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคปีละประมาณ 7 ล้านตันเฉลี่ยแล้วคไทยหนึ่งคนทานข้าวประมาณ 100-104 กิโลกรัม/ปี ซึ่งข้าวสารถือเป็นอาหารหลักและการปลูกข้าวก็ถือเป็นอาชีพสำคัญที่สร้างมูลค่าในกาส่งออกได้ดีอีกด้วยไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นร้านขายข้าวสารมีอยู่ทุกที่ในตลาดเคยคิดสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าการเปิดร้านขายข้าวสารนี้คู่แข่งก็มีมาก ข้าวสารแต่ละร้านก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทำไมบางคนเปิดร้านขายข้าวสารอย่างเดียวแต่ก็มีรายได้ที่ดี
ประวัติข้าวญี่ปุ่น
ข้าวคือชีวิต คือคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนหลายปากท้อง โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียเรา และ “ข้าว” ก็ถือเป็นพืชที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน เพราะชาวญี่ปุ่นรับประทานข้าวกันเป็นหลัก ภาษาญี่ปุ่นเรียกข้าวที่เป็นเมล็ดๆ ว่า โคเมะ (米) ส่วนข้าวที่หมายถึงของกินเรียกว่า โกะฮัง (ご飯) แปลได้ว่า อาหารที่ควรค่าแก่การยกย่อง หรือมีอีกความหมายว่า สิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต ว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นเริ่มปลูกข้าวกันมาตั้งแต่ยุคโจมง (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ราว 14,000 ปีถึง 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) โดยเชื่อกันว่า เมล็ดข้าวมาจากประเทศจีน ผ่านไต้หวัน และเข้ามาสู่ดินแดนคิวชูทางใต้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของข้าวในดินแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าวถือได้ว่าเป็นสิ่งมีค่ามาก รัฐบาลถึงกับสั่งให้ข้าวเป็นสินค้าควบคุม ดังนั้นชาวบ้านจึงหาทานข้าวขาวได้อย่างยากลำบาก บ้างก็หาบริโภคได้เพียงข้าวที่ยังไม่ขัดสีหรือข้าวกล้องเท่านั้น ข้าวสำหรับญี่ปุ่นมีความสำคัญมาก ถึงขนาดว่าในยุคหนึ่ง ข้าวเป็นเหมือนภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับรัฐบาลแทนเงินตรา หรือใช้เป็นเครื่องชี้วัดสถานะทางสังคมอีกด้วย (คล้ายระบบศักดินาของไทยเราสมัยก่อน) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ที่ญี่ปุ่นจึงเริ่มหันมาบริโภคแป้งชนิดอื่น ๆ หรือขนมปังมากขึ้น เห็นได้จากอาหารกลางวันของนักเรียนเริ่มมีการทานขนมปังแทนข้าวที่เคยทานกันเป็นประจำ หรือเมนูโอโคโนมิยากิ (พิซซ่าญี่ปุ่น) ที่คนไทยเรารู้จัก ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงข้าวยากหมากแพงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ความเป็นมาข้าวโฮชิ ฮิคาริ
ข้าวสายพันธุ์ “โคชิ ฮิคาริ” มีพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับ 1 มันวาวและเหนียวนุ่ม เรียกได้ว่าข้าวสายพันธุ์ “โคชิ ฮิคาริ” นั้นเป็นตัวแทนข้าวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ สายพันธุ์นี้ถือกำเนิดเริ่มต้นที่จังหวัดฟุคูอิ แต่ในปัจจุบันได้มีการเพาะปลูกตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเด่นพิเศษก็คือ มีความเหนียวนุ่ม หุงแล้วมีความมันวาว หอมอร่อย รสชาติดี ทานกับกับข้าวที่มีรสจัดจะเข้ากันมากกว่ากับข้าวรสอ่อน เนื่องจากมีความเหนียวนุ่มเป็นพิเศษจึงไม่ค่อยนิยมนำไปใช้กับอาหารแบบดงบุริ เช่น ข้าวหน้าเนื้อ ข้าวหน้าเทมปุระ เป็นต้น ในต่างประเทศทั้งอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ก็นิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น จึงมีการเพาะปลูกข้าวญี่ปุ่นในต่างประเทศด้วย Koshihikari เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันทั่วทุกจังหวัดในญี่ปุ่น แต่แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อุโอนุมา จังหวัดนิงาตะ ลักษณะเมล็ดข้าวสั้นป้อม รสชาติอร่อย หอม นุ่ม มีความเงาของเม็ดข้าวเรียกได้ว่าเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่แข็งแรง ป่วนเป็นโรคได้ง่ายจึงถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อและใช้ชื่อว่าKoshihikari BL
ลักษณะและรสชาติข้าวโฮชิ ฮิคาริ
โคชิฮิคาริ (Koshihikari) ข้าวพันธุ์นี้คือราชาของข้าวเมล็ดสั้น มีรสออกหวาน กลิ่นหอมคล้ายถั่วและมีความเหนียวเล็กน้อย
โดยส่วนใหญ่แล้วมักนิยมทำเป็นข้าวสำหรับทำซูชิแต่บางร้านก็ว่ามันหวานหอมไปจะกลบรสปลา ข้าวสายพันธุ์โคซิฮิคาริที่ปลูกในจังหวัดชิสุโอกะ มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ข้าวมีรสชาติหวานหอมนุ่มนวลขายรสชาติของนมจนได้ฉายาว่าmilky queen
ลักษณะข้าวเหนียวนุ่มเป็นมันเงาแต่ละเม็ดเกาะกันหลวมหลวมเมื่อเข้าปากแล้วจะกระจายตัวออกเหนียวนุ่มขนาดที่ว่าสามารถใช้ตะเกียบคีบข้าวทานเป็นคำๆได
ใครเคยกินข้าวญี่ปุ่นดีๆจะรู้ว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงสามารถ กิสข้าวกับบ๊วยเปล่าๆ หรือ กับสาหร่าย แค่นี้ก็อยู่ได้ นั่นเพราะรสชาติข้าวของเค้านี่มันสุดยอดจริงๆ
ข้าวญี่ปุ่นต่างกับข้าวไทยอย่างไร?
ในปี 1993 ที่ประเทศญี่ปุ่นอากาศแปรปรวน อากาศหนาวเย็นลง จึงทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลงมาก รัฐบาลจึงต้องนำเข้าข้าวจากไทย ตั้งแต่นั้นชาวญี่ปุ่นจึงรู้จักข้าวไทยของเรามากขึ้น แต่ด้วยรสสัมผัสที่ต่างกัน จึงมีคนญี่ปุ่นหลายคนที่พอทานครั้งแรกก็บอกว่าไม่อร่อย เพราะไม่ชินในเนื้อสัมผัสที่ร่วนและแห้งกว่าข้าวญี่ปุ่น โดยข้าวที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นชินกันนั้นจะเป็นเมล็ดกลมเล็ก มีความเหนียวนุ่มกว่าข้าวไทย สามารถใช้ตะเกียบคีบทานได้โดยง่าย เหตุที่ต่างกันนั้นก็เพราะข้าวญี่ปุ่นนั้นเป็นข้าวพันธุ์จาโปนีก้า (ジャポニカ米) ส่วนข้าวไทยของเรานั้นเป็นพันธุ์อินดีก้า (インディカ米) นั่นเอง รสสัมผัสก็ต่างกัน รูปร่างของเมล็ดข้าวก็ต่างกัน วิธีปลูกข้าวก็ต่างกันด้วย อย่างข้าวญี่ปุ่นใช้น้ำน้อยกว่า นาของเขานั้นแห้งกว่า ใช้น้ำน้อยกว่าที่ไทยมากๆ ไม่เหมือนนาไทยที่หลายคนติดภาพว่านาข้าวต้องมีน้ำท่วมขังตลอดเวลา เพราะข้าวญี่ปุ่นไม่ได้ชอบน้ำท่วมขังมาก ดังนั้นข้าวญี่ปุ่นที่นำมาปลูกในไทยมักจะปลูกในช่วงนาปรัง (ช่วงฤดูน้ำน้อย) เพราะไม่เช่นนั้นต้นข้าวอาจตายได้
วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของธุรกิจ
จุดแข็งของธุรกิจ
สามารถควบคุมต้นทุนของสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่งเป็นอย่างมาก เนื่องจาก สามารถจัดซื้อข้าวสารกับทางญี่ปุ่นได้โดยตรง พร้อมทั้งมีเครดิตในการจัดซื้อที่ดีกับทางญี่ปุ่นจึงทําให้มีเครดิต ในการซื้อข้าวสารที่นานกว่าคู่แข่ง
จุดอ่อนของธุรกิจ
- เป็นธุรกิจดําเนินงานในแบบของครอบครัว จึงยังไม่มีแผนดําเนินงานที่ เป็นระบบขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ
- เงินลงทุนมีจํากัด ทําให้ไม่สามารถปรับตัวได้ตามเทคโนโลยีและความ ต้องการของผู้บริโภคได้ตลอดเวลา
- การขยายสาขาเปรียบเสมือนการเข้าสู่ตลาดใหม่ในพื้นที่นั้นๆ จึงทําให้ ผู้บริโภคในช่วงแรกไม่รู้จักร้านและไม่มีความสัมพันธ์กับร้านเมื่อเทียบกับคู่แข่งเดิมในพื้นที่นั้นๆ
วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ
โอกาสของธุรกิจ
- ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความใส่ใจในการดูแลตัวเองและคํานึงถึงอาหารที่ บริโภคเป็นอย่างมาก จึงต้องการข้อมูลประกอบการ
- Facebook และ Line Application ⇒ ผู้บริโภคสามารถเข้าไปเลือกดูรายการสินค้าหน้า Facebook Page หรือ หน้า Home Page Line ของบริษัทได้โดยหากต้องการสั่งสินค้าทางร้านจะมีบริการส่งโดยเสียค่าส่ง หากสั่งในปริมาณที่น้อยและระยะทางไกล ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของทางร้าน แต่หากต้องการเข้ามาซื้อที่ ร้านจะสามารถรับสินค้าได้ทันทีหากมีการสั่งสินค้าไว้ล่วงหน้าผ่าน Facebook และ Line Application นอกจากนี้จะมีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร อัพเดทราคา และโปรโมชั่นแก่ ลูกค้าเป็นประจําผ่านช่องทางนี้
- เว็บไซต์ ⇒ เว็บไซต์ของบริษัทจะแสดงข้อมูลของสินค้าทั้งหมดของบริษัท อัพเดท ข้อมูลราคาสินค้ารายวัน อัพเดทโปรโมชั่น รวมทั้งยังเป็นช่องทางในการสั่งสินค้าโดยเมื่อผู้บริโภคสั่ง สินค้าผ่านเว็ปไซต์บริษัท โดยจะทำการให้ร้านสาขาใกล้บ้านไปส่งสินค้า นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลการหุง ข้าว ประกอบอาหาร และข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
อุปสรรคของธุรกิจ
- สินค้าเป็นสินค้าที่ไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจนในตลาด จึงทำให้หากคู่แข่งหรือร้านค้าปลีกข้าวสารเดิมในพื้นที่มีความสำคัญอันดีกับลูกค้าเป็นอย่างมากอยู่ แล้ว จะทำให้การขยายสาขาในพื้นที่บริเวณนั้น ๆเป็นไปได้ยาก
- ร้านค้าปลีกข้าวสารมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้อาจเกิดสงคราม ด้านราคาในการขายบ่อยครั้ง เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญในด้านราคาสินค้าค่อนข้างมาก จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมสภาพภายนอก จึงทำให้ สามารถใช้เครื่องมือ TOWS Matrix เพื่อหากลุยทธ์ที่เหมาะสมกับบริษัท
กลยุทธ์ 4p (Marketing Mix)
สินค้า Product
สินค้าของร้านจะประกอบไปด้วย ข้าวสารจําหน่ายแบบตวงตามความต้องการ ของผู้บริโภค ข้าวสารถุงพร้อมจําหน่าย 2 kg
- พันธุ์ Koshihikari (コシヒカリ)
ราคา Price
บริษัทกำหนดราคาโดยตั้งราคาอ้างอิงจากราคาจําหน่ายจากคู่แข่งหลักหรือ ผู้ประกอบการในระดับเดียวกันประกอบกับต้นทุนของสินค้า ซึ่งเป็นการตั้งราคาจากคุณค่าที่ กลุ่มเป้าหมายรับรู้ (Perceived-Value Pricing) ตามราคาที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ โดยเป็นการตั้งราคาที่เน้นความคุ้มค่าด้านคุณภาพจำทำให้เป็นการตอกย้ําคุณภาพของข้าวสารที่ คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายมีความแตกต่างจากข้าวขอผู้ประกอบการรายย่อยที่จําหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า และมีคุณภาพที่ต่ำกว่า โดยเป็นไปตาม Positioning ตามที่ได้กำหนดไว้
ช่องทางจัดจำหน่าย Place
- ร้านสาขา » ผู้บริโภคสามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ร้านสาขาที่สะดวกหรือใกล้บ้าน ได้ โดยมีพนักงานคอยให้คำแนะนําและบริการ มีที่จอดรถ นอกจากนี้เพื่อความสะดวกยังสามารถโทร เข้าเบอร์ร้านสาขาเพื่อสอบถามข้อมูลหรือสั่งสินค้าไว้ล่วงหน้าได้
- Facebook และ Line Application » ผู้บริโภคสามารถเข้าไปเลือกดูรายการสินค้าหน้า Facebook Page หรือ หน้า Home Page Line ของบริษัทได้โดยหากต้องการสั่งสินค้าทางร้านจะมีบริการส่งโดยเสียค่าส่ง หากสั่งในปริมาณที่น้อยและระยะทางไกล ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขของทางร้าน แต่หากต้องการเข้ามาซื้อที่ ร้านจะสามารถรับสินค้าได้ทันทีหากมีการสั่งสินค้าไว้ล่วงหน้าผ่าน Facebook และ Line Application นอกจากนี้จะมีการแจ้งข้อมูลข่าวสาร อัพเดทราคา และโปรโมชั่นแก่ ลูกค้าเป็นประจำผ่านช่องทางนี้
- เว็บไซต์ » เว็บไซต์ของบริษัทจะแสดงข้อมูลของสินค้าทั้งหมดของบริษัท อัพเดท ข้อมูลราคาสินค้ารายวัน อัพเดทโปรโมชั่น รวมทั้งยังเป็นช่องทางในการสั่งสินค้าโดยเมื่อผู้บริโภคสั่ง สินค้าผ่านเว็ปไซต์บริษัท โดยจะทำการให้ร้านสาขาใกล้บ้านไปส่งสินค้า นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลการหุง ข้าว ประกอบอาหาร และข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
แผนสำรอง
ธุรกิจค้าปลีกข้าวสารมีปัจจัยจากภายในและภายนอกองค์กรที่สามารถส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจได้เป็นอย่างมากทั้งปัจจัยในด้านบวกหรือปัจจัยในด้านลบและที่สำคัญธุรกิจค้าปลีกมีความ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องมีการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และในปัจจุบันความต้องการของผู้บริโภคมีความหลายหลากและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเทคโนโลยีที่พัฒนาสนองความต้องการต้องการของผู้บริโภคได้ดีมากขึ้น ซึ่งหากธุรกิจไม่ ปรับตัวหรือมีแผนการรับมือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีประสิทธิภาพ ในอนาคตนั้นอาจทำให้ธุรกิจเกิด ความเสียหายและหยุดกิจการได้ ดังนั้นร้านข้าวสารบุญช่วยโภคภัณฑ์จึงมีการวางแผนฉุกเฉินเพื่อ รับมือเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดในอนาคตดังต่อไป แผนฉุกเฉินด้านการตลาด การเพิ่ม Brand Awareness และ Top of Mine Awareness ของ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายไม่เป็นไปตาเป้าหมาย ทำการประเมินผลการเข้าถึงสื่อโฆษณาของแต่ละช่องทางสำหรับ กลุ่มเปูาหมายเนื่องจาก Tecnology ด้านการสื่อสารในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวมเร็ว ดังนั้น เครื่องมือเก่าๆอาจไม่ได้ผล บริษัทจะทำการวางแผนและปรับปรุงอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถเข้าถึง ผู้บริโภคได้มากขึ้นยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บริษัทจะทำการวิเคราะห์ลูกค้าและคู่แข่ง รวมทั้งกิจกรรมทางการตลาด ปัจจุบันที่ใช้เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและเหตุของการไม่ได้ผลลัพท์ตามเปูาหมาย หากเกิดข้อบกพร่อง ที่เกิดจากการดําเนินงานของกิจการเองจะรีบการแก้ไข้ ซึ่งจะทำการวางแผนสสำหรับกระบวนการแก้ไข ปัญหานั้นอย่าเร่งด่วน เพื่อเป็นการปูองกันผลกระทบที่จะรุนแรงขึ้นและไม่ต้องการให้เกิดซ้ําขึ้นอีก โดยจะมีวิธีการปฎิบัติงานดังนี้
(1) ทำการโฆษณาให้ผู้บริโภคเห็นถึงความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ด้วย คุณภาพและบริการที่ดีกว่า
(2) จัดทำIn-Depth Interview โดยเลือกเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่ม Target เท่านั้นเพื่อศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภคและนํามาปรับปรุงสินค้าให้ตรงต่อความ ต้องการ
สรุป
หลายคนทานอาหารญี่ปุ่นกันเป็นประจำ แต่คงยังไม่เคยสังเกตว่าข้าวในแต่ละเมนูต่างกันอย่างไร และมีความต่างกับข้าวไทยอย่างไร ทานอาหารญี่ปุ่นไป ก็อย่าลืมลองเปรียบเทียบดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถูกปาก ถูกใจคนไทยอย่างเราหรือเปล่า ใครจะลองหุงทานเองที่บ้าน ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับอาหารไทยก็คงสนุกและแปลกใหม่ไปอีกแบบ ลองกันดูนะ
ขั้นตอนการขออนุญาตขายข้าวสารนำเข้าจากญี่ปุ่น
พิกัดศุลกากร
ขอบเขตในการควบคุม
ข้าว ตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ 1006
ระเบียบและหลักเกณฑ์การนำเข้า
- ข้าวที่นำเข้าจากประเทศสมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947 : เฉพาะสินค้า ที่มีถิ่นกำเนิดและส่งมาจากประเทศสมาชิก WTO หรือภาคีแกตต์ 1947 ต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้ WTO และไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าหรือชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้า (ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 111) พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 26 มกราคม 2539 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 115) พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 117) พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539)
1.1 กรณีนำเข้าในโควตา
– ผู้นำเข้าต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าข้าว และได้รับใบอนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ จากกรมการค้าภายใน
– ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดโดยแบ่งเป็น 3 งวด
งวดที่ 1 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 เมษายน
งวดที่ 2 ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม
งวดที่ 3 ตั้งแต่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม
– ในแต่ละงวดให้ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองแต่ละรายยื่นขอหนังสือรับรองได้ในปริมาณรวมไม่เกิน 100 ตัน
1.2 กรณีนำเข้านอกโควตา
– ผู้นำเข้าต้องเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ
– ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศ
- ข้าวที่นำเข้าจากประเทศ ที่ไม่ใช่สมาชิก WTO ต้องขออนุญาตนำเข้า โดยในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ปฏิบัติตามระเบียบประกาศที่กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองไว้กับกรมการค้าต่างประเทศ
– ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองตามแบบที่กรมการค้าต่างประเทศ
- ข้าวที่นำเข้าจากประเทศ ที่ไม่ใช่สมาชิก WTO ต้องขออนุญาตนำเข้า โดยในหลักการไม่อนุญาตให้นำเข้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ปฏิบัติตามระเบียบประกาศที่กำหนด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการนำเข้าข้าวตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)
ในโควตา
อัตราภาษีร้อยละ 30 |
นอกโควตา
อัตราภาษีร้อยละ 52 |
1. ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีในโควตา
1.1 นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าข้าว 1.2 ได้รับใบอนุญาตประกอบการค้าข้าวประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ จากกรมการค้าภายใน 2. ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ แบ่งเป็น 3 งวด งวดละ 83,252 ตัน – งวดที่ 1 ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 30 เม.ย. – งวดที่ 2 ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 31 ส.ค. – งวดที่ 3 ตั้งแต่ 1 ก.ย. – 31 ธ.ค. ในแต่ละงวดให้ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองแต่ละรายขอได้ในปริมาณรวมไม่เกิน 100 ตัน พร้อมหลักฐานดังนี้ 2.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือน 2.2 สำเนาหนังสืออนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวประเภทนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ จากกรมการค้าภายใน 2.3 สำเนาหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช 2.4 สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 2.3 สำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice) 2.4 สำเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ, สำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ, เอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 3. ดำเนินพิธีการนำเข้าที่กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองฯ 4. รายงานการนำเข้าข้าวภายใน 30 วันนับจากวันที่นำเข้าข้าวแต่ละครั้ง ที่กองบริหารการค้าข้าว ชั้น 9 พร้อมเอกสารดังนี้ 4.1 แบบรายงานการนำข้าวเข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับการชำระภาษีในโควตา (แบบ ขอ.2) 4.2 สำเนาหนังสือรับรองฯ (ร.2) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ 4.3 สำเนาใบขนสินค้าขาเข้าสถานะส่งมอบแล้ว (0409) ที่ได้รับรองสำเนาถูกต้อง หรือสำเนาใบขนที่รับรองโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร |
1. ผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับภาษีนอกโควตา
1.1 นิติบุคคล 1.2 บุคคลธรรมดา 2. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิขอหนังสือรับรอง ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ (ชั้น 4) พร้อมหลักฐานดังนี้ 2.1 กรณีบุคคลธรรมดา – สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทาง – สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์อายุไม่เกิน 3 เดือน 2.2 กรณีนิติบุคคล – สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาหนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล – สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลอายุไม่เกิน 3 เดือน 3. ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ ชั้น 3 พร้อมหลักฐานดังนี้ 3.1 สำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice) 3.2 สำเนาใบตราส่งสินค้าทางเรือ, สำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ, เอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้า 3.3 สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 4. ดำเนินพิธีการนำเข้าที่กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองฯ 5. รายงานการนำเข้าข้าวภายใน 30 วันนับจากวันที่นำเข้าข้าวแต่ละครั้ง ที่กองบริหารการค้าข้าว ชั้น 9ตามแบบที่กำหนด ดังนี้ 5.1 แบบรายงานการนำเข้าสินค้า … เข้ามาในราชอาณาจักรสำหรับการชำระภาษีนอกโควตา WTO 5.2 สำเนาหนังสือรับรองฯ (ร.4) ที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศ 5.3 สำเนาใบขนสินค้าขาเข้าที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสลักรายการถูกต้อง |
กองบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศ
มกราคม 2563
งบเริ่มต้น 707,750 ฿
ค่าเช่าอาคารพาณิชย์ 45,000 ฿
-วางมัดจำ 2 เดือน 30,000 ฿
– เช่ารายเดือน 15,00 ฿
ค่าสต๊อกข้าวนำเข้าจากชิสึโอกะ 1.5 ตัน 630,000 ฿
ค่าพาเลทพลาสติกวางข้าว 5 ตัว 4,500 ฿
ค่าขอใบอนุญาติกระทรวงพาณิชย์ 28,250 ฿
– จดทะเบียนอนุญาตระเบียบ(WTO) 20,000 ฿
– ดูแลรายปี 6,000 ฿
– ภาษีนำเข้า 2,250 ฿
กำไรขาดทุน 4 เดือน
รายการ | เดือนที่ 1 | เดือนที่ 2 | เดือนที่ 3 | เดือนที่ 4 |
งบเริ่มต้น | 707,750.00 | 15,000.00 | 15,000.00 | 15,000.00 |
รายได้ | 277,500.00 | 370,000.00 | 370,000.00 | 370,000.00 |
กำไรขาดทุน | – 430,250.00 | 355,000.00 | 355,000.00 | 355,000.00 |
ROI | 61% | 2367% | 2367% | 2367% |